วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
การติดตั้งและตั้งค่า Airlink mt 1.2 ทดสอบ
ไฟล์ Airlink-MT-BETA.tar.gz ประมาณ 15M
ทำการติดตั้ง Ubuntu 12.04 Lts 64 บิต โดยเลือกแพ็คเกจที่จำเป็นดังนี้
ssh server
Lamp server
dns server
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจัดการสิทธิ์ของ root ให้เรียบร้อยแล้วเข้าระบบในฐานะ root แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
โยนไฟล์ Airlink-MT-BETA.tar.gz ไปใว้ที่ /root
tar -zxvf Airlink-MT-BETA.tar.gz
chmod +x *.sh
./install.sh
เริ่มการอัพเดทระบบและติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็นระหว่างนี้หาอะไรกินไปพลางๆ หากคิดว่าเน็ตท่านเร็วไม่มาก
หลังจากติดตั้งเสร็จระบบจะสร้าง HTTPS Certificate
ใส่ airlink แล้ว enter
ระบบจะแตกไฟล์ไปทับตัวเดิมแล้วจะถามรหัสฐานข้อมูลแบบนี้
Change MySql root password:
ใส่รหัสฐานข้อมูลแล้ว enter
หลังจากนั้นระบบจะติดตั้ง phpmyadmin proftpd vnstat
ถึงการติดตั้ง proftpd ให้เราเลือก
standalone
ถึงการติดตั้ง phpmyadmin ให้เราเลือก
apache
แล้วระบบจะถามรหัสฐานข้อมูล
เลือก yes แล้วใส่รหัสฐานข้อมูล 3 ครั้ง
ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการสร้างฐานข้อมูล air_db และ import ไฟล์เข้าไประบบจะถามแบบนี้
Enter your mysql password :
ใส่รหัสฐานข้อมูล
เรียบร้อยติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
ทีนี้เรามาปรับค่าต่างๆของ server เรานิดหน่อย
เนื่องจาก airlink มีแลนใบเดียวแต่เราต้องการให้ squid ทำงานได้ด้วยก็เลยต้องสร้าง vitual interface ขึ้นมาอันนึง
nano /etc/network/interfaces
เข้ามาแล้วก็ก็อบค่านี้ไปใว้ล่างสุด
auto eth0:0
iface eth0:0 inet static
name Ethernet alias LAN card
address 172.0.0.5
netmask 255.255.252.0
network 172.0.3.255
จะได้ประมาณนี้
แต่เดี๋ยวก่อน ท่านต้องใช้เลขไอพีที่เป็นของท่านด้วย จากภาพด้านบนสุดเน็ตเวิร์คฝั่ง Hotspot ของผมเป็น 172.0.0.0/22 และผมเลือกใช้ไอพี 172.0.0.5 มาเป็น vitual ip interface หากท่านใช้ไอพีชุด 10.0.0.0/24
ท่านก็ต้องเปลี่ยนเลขไอพีให้เป็นของท่านด้วย พอจะเข้าใจนะ
หลังจากนั้นบันทึกแล้ว
nano /etc/iptables.sh
ท่านจะเห็นตัวหนังสือหลายบรรทัดแต่ไม่ต้องสนใจ สนใจแค่นี้พอ
MIKROTIK="192.168.50.1" //ไอพีของ mikrotik ขาที่เชื่อมอยู่กับ airlink
SQUID_SERVER="172.0.0.5" //ไอพีของ vitual interface
INTERNET="eth0" //ขาออกเน็ตปกติมีใบเดียวก็น่าจะเป็น eth0 นี่แหละ
LOCAL="172.0.0.0/22" //เน็ตเวิร์คของ hotspot ท่าน
SQUID_PORT="3128" //อย่าเปลี่ยนนะ
แล้วก็บันทึกเสร็จแล้วสั่ง
/etc/init.d/networking restart
sh /etc/iptables.sh
ตามลำดับ
เสร็จแล้วสำหรับ server มาต่อกันที่ mikrotik
เข้าระบบ mikrotik ไปที่ New Terminal
/ip firewall mangle
add action=mark-routing chain=prerouting dst-port=80,3128 new-routing-mark=\ to-airlink protocol=tcp src-address=172.0.0.0/22
โดยที่ 172.0.0.0/22 คือไอพีเน็ตเวิร์คของ hotspot ท่านเปลี่ยนให้เป็นของท่านด้วย
/ip route
add distance=1 gateway=192.168.50.254 routing-mark=to-airlink scope=0
โดยที่ 192.168.50.254 คือไอพีของ server airlink
/system logging
actionadd bsd-syslog=yes name=airlink remote=192.168.50.254 syslog-facility=local0 \ target=remote
add action=airlink topics=firewall
โดยที่ 192.168.50.254 คือไอพีของ server airlink
/ip firewall filter
add action=log chain=forward connection-state=new out-interface=WAN1
add action=log chain=forward connection-state=new out-interface=WAN2
โดยที่ WAN1 และ WAN2 คือขาเน็ตหากมีเท่าไหร่ก็ทำเท่านั้น
สุดท้าย
/ip hotspot user profileset [ find default=yes ] idle-timeout=none keepalive-timeout=2m \ mac-cookie-timeout=3d shared-users=100
แล้วก็อย่าลืมไปสร้างยูสของ mikrotik เพื่อเอาไปใส่ใน airlink ด้วย อย่าลืมเปิด api service ด้วย
นำยูสที่สร้างใน mikrotik ไปใส่ที่เมนู mikrotik ของ airlink เพียงเท่านี้ก็เสร็จแล้วไม่ต้องตั้งค่าอะไรต่อ
ลองเข้าใช้งานเว็บไซต์ผ่าน hotspot ดูแล้วใช้คำสั่ง
tail -f /var/log/squid3/access.log
tail -f /var/log/airlink/xxx/xxx/xxx // log file จะถูกสร้างขึ้นตามไอพีของ mikrotik ปี เดือน ชื่อไฟล์รูปแบบประมาณนี้
tail -f /var/log/airlink/192.168.50.1/2014/03/log-2014-03-23.log
log file จะไม่แสดงหากไม่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเลย เมื่อมีการใช้งานระบบจะสร้างให้อัตโนมัติ
log file จะเก็บในฐานข้อมูลของ airlink แค่วันต่อวันและจำกัดที่ 20000 record แต่ยังคงเก็บใว้ที่ /var/log/airlink/ อยู่ครับ
ผมแนบไฟล์การตั้งค่า mikrotik เป็น .rsc ท่านสามารถเปิดดูกับ notepad ได้ก็อบโค้ดด้านบนเพื่อไปเทียบกันเอาเพราะบางทีโค้ดในโน๊ตนี้อาจจะจัดรูปแบบ
บทความจาก http://max-kai-wifihotpot.blogspot.com/2014/03/airlink-mt-12.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น